วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ศึกษาพืช เรื่อง การขยายพันธุ์พืช dy krupatty

การขยายพันธุ์พืช 

        การขยายพันธุ์พืช  คือ การทำให้ต้นพืชมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น  ซึ่งทำได้หลายวิธี  เช่น  การเพาะเมล็ด  ปักชำ  ตอนกิ่ง  ติดตา  ทาบกิ่ง  เสียบยอด  เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  ซึ่งวิธีการเหล่านี้ มนุษย์ได้ใช้วิธีการสังเกต  ศึกษาข้อมูล  รวมทั้งทดลองทำจนเกิดผลสำเร็จ

      การขยายพันธุ์พืช มีดังนี้
            
            1.การเพาะเมล็ด  เป็นการนำเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการคัดคุณภาพมาปลูกในพื้นที่ที่เตรียมไว้  เช่น  แปลงเพาะ  กระบะเพาะ   หรือภาชนะต่าง ๆ 

            การเพาะเมล็ดมีวิธีปฏิบัติ  ดังนี้ 
             
             
  1) เตรียมดินโดยดายหญ้าให้หมด  แล้วตากดินไว้   ประมาณ 2 - 3 วัน  เพื่อฆ่าเชื้อโรค
  2) ย่อยดินให้ร่วนซุย แล้วใส่ปุ๋ยคอกผสมเข้าหากันจากนั้นนำไปใส่ภาชนะหรือแปลงเพาะที่เตรียมไว้
                3) หว่าน โรย หรือหยอดเมล็ดพันธุ์ลงหลุดในภาชนะหรือแปลงเพาะที่เตรียมไว้ แล้วใช้ดินกลบและรดน้ำให้ชุ่ม
                4) ดูแลจนเมล็ดงอกเป็นต้นกล้า เมื่อเจริญเติบโตแข็งแรงดีแล้ว  จึงย้ายต้นกล้าไปปลูกต่อไป

            2. การปักชำ การปักชำเป็นการขยายพันธุ์โดยการตัดส่วนของพืช เช่น กิ่ง ก้าน ใบ ลำต้น ราก ออกจากต้นเดิมมาปักลงดินหรือทรายหรือวัสดุปักชำที่มีความชื้นพอสมควร

            การปักชำมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้

       1) เลือกลักษณะของกิ่งที่จะนำมาปักชำ แล้วตัดกิ่งเป็นแนวเฉียง ด้านล่างของกิ่งต่ำกว่าข้อเล็กน้อย และด้านบนของกิ่งเหนือกว่าข้อเล็กน้อย
       2) นำส่วนโคนของกิ่งปักลงในวัสดุปักชำ ให้ลึกประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวของกิ่ง
       3) รดน้ำอย่างสม่ำเสมอ วันละ 2 - 3 ครั้ง แต่อย่าให้วัสดุปักชำมีน้ำท่วมขัง
       4) รอจนรากแตกออกมาจากกิ่งมากพอและแข็งแรง จึงนำไปปลูกในดิน
         
            พืชที่นิยมขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ เช่น พลูด่าง โกสน อ้อย มันสำปะหลัง

           3. การตอนกิ่ง การตอนกิ่งเป็นการขยายพันธุ์พืชโดยการทำให้เกิดราก ขณะที่ยังไม่ตัดกิ่งออกจากต้นเดิม

             การตอนกิ่งมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้

   1) เลือกกิ่งที่ตั้งตรง ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป
   2) ควั่นรอบ ๆ กิ่ง ให้รอยควั่นห่างกันประมาณ 0.5 นิ้ว แล้วลอกเปลือกระหว่างรอยควั่นออก
   3) ใช้สันมีดขูดเนื้อเยื่อลำเลียงกิ่งออกให้หมด
   4) นำดินร่วนค่อนข้างเหนียวหุ้มที่รอยควั่นจนมิดแล้วหุ้มด้วยกาบมะพร้าวชุ่มน้ำ จากนั้นใช้เชือกมัดหัวท้ายให้แน่น
5) ใช้ถุงพลาสติกพันทับกาบมะพร้าวอีกครั้ง เพื่อป้องกันน้ำเข้า
6) ดูแลแและรดน้ำประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ จะเห็นรากงอกออกมา เมื่อรากงอกยาวพอสมควรแล้ว จึงตัดบริเวณใต้รอยควั่น เพื่อนำกิ่งตอนไปปลูก

            พืชที่นิยมขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง  เช่น กุหลาบ มะนาว มะม่วง ชมพู่ ฝรั่ง โกสน โมก

         4. การติดตา การติดตาเป็นขยายพันธุ์พืชโดยการเชื่อมประสานส่วนของต้นพืชเข้าด้วยกันเพื่อให้เจริญเป็นต้นพืชต้นเดียวกัน โดยนำเอาแผ่นตาของพืชพันธุ์ดีไปติดเข้ากับต้นตอเพื่อให้ตาเจริญเติบโตเป็นพืชต้นใหม่ต่อไป
           พืชพันธุ์ดี ได้แก่ พืชที่มีดอกหรือมีผลเป็นที่น่าพอใจ
           พืชต้นตอ ได้แก่ พืชที่แข็งแรง หาอาหารเก่ง เจริญเติบโตแข็งแรง ทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อม

        การติดตามีหลายวิธี แต่ในชั้นนี้จะเรียงเพียง 1 วิธี คือ การติดตาแบบตัวที  ซึ่งปฏิบัติ ดังนี้

        1) คัดเลือกต้นพันธุ์ดี และต้นพันธุ์พื้นเมืองที่จะนำมาติดตา
        2) ใช้มีดคม ๆ กรีดเปลือกลำต้นตอเป็นรูปตัวที่(T) 
        3) ใช้ปลายมีดเปิดเปลือกไม้ แล้วเฉือนแผ่นตาจากกิ่งพันธุ์ดีออกมา
       4) นำแผ่นตาของต้นพันธุ์ดีมาเสียบเข้าไปในรอยกรีดของต้นตอพันธุ์พื้นเมือง
       5) ใช้แผ่นพลาสติกหรือผ้าชุปเทียนไขพันให้แน่นโดยพันจากข้างล่างขึ้นข้างบน เพื่อป้องกันน้ำเข้าตา เพราะถ้าน้ำเข้า อาจทำให้ตาเน่าได้
       6) ทิ้งไว้ประมาณ 2 - 3 สัปดาห์  เมื่อแผ่นตาติดกับต้นตอแล้วแตกกิ่งก้านออกมาจึงตัดยอดของต้นตอทิ้งไป
      

           พืชที่นิยมขยายพันธุ์ด้วยการติดตา เช่น กุหลาบ ส้ม มะนาว ขนุน

        5. การทาบกิ่ง การทางกิ่งเป้นการขยายพันธุ์พืช โดยการใช้กิ่งของต้นพันธุ์ดีมาทาบกิ่งของต้นตอพันธุ์ดีมาทาบกับกิ่งของต้นตอพันธุ์พื้นเมือง

          การทาบกิ่งมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้

     1) นำต้นตอพันธุ์พื้นเมืองมาปลูกลงในถุงพลาสติก เมื่อโตได้ขนาดแล้วนำไปทาบกิ่งพันธุ์ดี ที่มีขนาดใกล้เคียงกัน
     2) ใช้มีดคม ๆ เฉือนเอาเปลือกด้านที่หันเข้าหากันออกทั้ง 2 กิ่ง แล้วนำมาทาบติดกันให้สนิท
     3) ใช้แผ่นพลาสติกพันให้แน่น ทิ้งไว้ 2 - 3 สัปดาห์ จนเนื้อเยื่อของกิ่งทั้ง 2 กิ่ง ประสานกันจนเป็นเนื้อเดียวกัน
     4) ตัดกิ่งพันธุ์ดีใต้บริเวณที่ทาบเอาไว้ออก  จากนั้นให้นำต้นพันธุ์พื้นเมืองที่มียอดเป็นต้นพันธุ์ดีไปปลูก



         พืชที่นิยมขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่ง เช่น มะม่วง มะขาม ขนุน

          6. การเสียบยอด การเสียบยอดเป็นการขยายพันธุ์พืชโดยการตัดเอายอดของลำต้นพันธุ์ดีที่ต้องการมาเสียบลงบนตอของต้นพันธุ์พื้นเมือง หรือพันธุ์ธรรมดาที่หาได้ง่าย เพื่ออาศัยรากแก้วของต้นตอในการเลี้ยงยอดของกิ่งพันธุ์ดีให้เจริญเติบโตขึ้น

         การเสียบยอดมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้

      1) ตัดยอดต้นตอให้สูงขึ้นจากพื้นดิน ประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วผ่ากลางลำต้นของต้นตอให้ลึกประมาณ 3 - 4 เซนติเมตร
      2) เฉือนยอดพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่มยาวประมาณ 3 - 4 เซนติเมตร
      3) เสียบยอดพันธุ์ดีลงในแผลต้นตอให้รอยแผลตรงกัน แล้วใช้เชือกมัดด้านบนและด้านล่างของรอยแผลต้นตอให้แน่น
4) ทิ้งเอาไว้ประมาณ 5 - 7 สัปดาห์ รอยแผลจะประสานกันดี และนำออกมาพักไว้ในโรงเรียนเพื่อรอการปลูกต่อไป
  
         พืชที่นิยมขยายพันธุ์ โดยวิธีการเสียบยอด เช่น ชวนชม น้อยหน่า สาลี่ พลับ

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ศึกษาชีวิตพืช เรื่อง พืชดอก dy krupatty

พืชดอก

                พืชดอก  คือ พืชที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะออกดอก  และอาศัยดอกในการสืบพันธุ์  ซึ่งทำให้สามารถเกิดเป็นพืชต้นใหม่ได้  ดอกของพืชจึงมีหน้าที่ในการสืบพันธุ์

1. ส่วนประกอบของดอก

                ดอกของพืชแต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่างกัน   โดยทั่วไปดอกของพืชประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ 4 ส่วนดังนี้



1. เกสรเพศเมีย   ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียในดอกชบา  รังไข่และก้านเกสรเพศเมียติดกัน แต่ยอดเกสรเพศเมียแยกจากกัน





2. เกสรเพศผู้  ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ในดอกชบา  เกสรเพศผู้อยู่ติดกันและมีหลายอัน




3. กลีบดอก  ทำหน้าที่ห่อหุ้มเกสรขณะที่เกสรยังอ่อนอยู่มักมีสีสันสวยงาม  หรือมีกลิ่นหอม  เพื่อช่วยล่อแมลงให้มาผสมเกสร




4. กลีบเลี้ยง  ทำหน้าที่ห่อหุ้มส่วนของดอกในขณะที่ยังตูมอยู่  เพื่อป้องกันอันตรายจากแมลง


จากการสำรวจดอกไม้ชนิดต่าง  ๆ จะพบว่า  ดอกไม้บางชนิดมีส่วนประกอบครบทั้ง  ส่วน แต่บางชนิดมีส่วนประกอบไม่ครบ 4 ส่วน  เราจึงจำแนกประเภทของดอกไม้  โดยใช้ส่วนประกอบของดอกไม้เป็นเกณฑ์ได้  ดังนี้

1. การจำแนกดอกของพืช โดยใช้ส่วนประกอบของดอกเป็นเกณฑ์ ดังนี้
- ดอกสมบูรณ์ มีส่วนประกอบครบ 4 ส่วน คือ กลีบเลี้ยง   กลีบดอก    เกสรเพศผู้  และ  เกสรเพศเมีย ตัวอย่างเช่น                                                                                          
ดอกบัว
     
ดอกพริก

        

       - ดอกไม่สมบูรณ์เพศ มีส่วนประกอบไม่ครบ 4 ส่วน ตัวอย่างเช่น 


ดอกมะระ
ดอกตำลึง

2. การจำแนกดอกของพืช โดยใช้เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียเป็นเกณฑ์ ดังนี้

       - ดอกสมบูรณ์เพศ มีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ตัวอย่างเช่น


ดอกกุหลาบ
ดอกชบา

        - ดอกไม่สมบูรณ์เพศ มีเกสรเพศผู้หรือเกสรเพศเมียเพียงอย่างเดียวในดอกหนึ่งดอก ตัวอย่างเช่น



ดอกบวบ

ดอกมะละกอ


2. การสืบพันธุ์ของพืชดอก


        เมื่อพืชดอกเจริญเติบโตเต็มที่จะเริ่มออกดอก  ภายในดอกมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้  (ละอองเรณ)  เก็บไว้ในอับเรณู  ส่วนเกสรเพศเมียจะมีรังไข่  และภายในรังไข่มีออวุล   ซึ่งทำหน้าที่เก็บเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (เซลล์ไข่) เอาไว้  เพื่อใช้ในการสืบพันธุ์  ซึ่งการสืบพันธุ์ลักษณะนี้  เรียกว่า  การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ  ดังนั้น  ส่วนประกอบของดอกที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์  ได้แก่  เกสรเพศผู้  และเกสรเพศเมีย

       ส่วนประกอบของเกสร มีดังนี้

       - ส่วนประกอบของเกสรเพศผู้





 
       เกสรเพศผู้  เป็นส่วนที่อยู่ถัดเข้ามาจากชั้นกลีบดอก  เป็นอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้  เกสรเพศผู้มักมีอยู่หลายอัน ในแต่ละอันจะประกอบด้วย
  • ก้านอับชูเรณู
  • อับเรณู
  • ละอองเรณ
      - ส่วนประกอบของเกสรเพศเมีย


              เกสรเพศเมีย  เป็นส่วนที่อยู่ในชั้นในสุด  ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย   เกสรเพศเมียประกอบด้วย
  • ยอดเกสรเพศเมีย
  • รังไข่
  • ออวุล

ดังแผนภาพด้านล่าง


โครงสร้างและการสืบพันธุ์ของพืชดอก


           การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเริ่มจากการถ่ายละอองเรณู  เมื่อละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย  และได้รับอาหารที่ยอดเกสรเพศเมีย  จะงอกหลอดแทงเข้าไปตามก้านเกสรเพศเมียของรังไข่  และเข้าไปผสมกับเซลล์ไข่ภายในออวุล  เกิดการปฏิสนธิ ดังภาพด้านล่าง


การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอก
            


             หลังจากการปฏิสนธิ  ยอดและก้านชูเกสรเพศเมียก็เหี่ยวลง กลีบเลี้ยง  กลีบดอก  เกสรเพศผู้  และเกสรเพศเมีย  ก็จะแห้งแล้วร่วงหลุดไป  ส่วนรังไข่และออวุลจะมีการเจริญเติบโตต่อไป  โดยรังไข่เจริญกลายเป็นผล  ออวุลเจริญไปเป็นเมล็ด  ภายในเมล็ดจะเก็บต้นอ่อนปละเก็บสะสมอาหารไว้ภายใน  เพื่อเกิดเป็นต้นใหม่ต่อไป







รังไข่ที่มีออวุลเดียว  จะมีเมล็ดในผลเพียงเมล็ดเดียว








รังไข่ที่มีหลายออวุล จะมีเมล็ดอยู่ในผลจำนวนมาก






เกร็ดวิทย์ - น่ารู้

เรื่อง การถ่ายละอองเรณู

    การถ่ายละอองเรณู  คือ  การที่ละอองเรณูไปตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย  การถ่ายละอองเรณูเกิดได้  2 ลักษณะ

  • การถ่ายละอองเรณูในดกเดียวกัน
  • การถ่ายละอองเรณูข้ามดอก
     กระบวนการถ่ายละอองเรณูจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยตัวกลางพาไป  ได้แก่  ลม  น้ำ  มนุษย์  สัตว์  เช่น  ผีเสื้อ  ผึ้ง  ค้างคาว  นก 

  การปฏิสนธิ  คือ  การที่เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (ละอองเรณู) ผสมกับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (เซลล์ไข่)










วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559

เรียนรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการถ่ายทอดพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต

การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต

                ถ้าสังเกตลักษณะของคนรอบ ๆ ตัว  จะเห็นว่าคนมีลักษณะบางอย่างคล้ายคลึงกัน  และมีลักษณะบางอย่างแตกต่างกัน  จึงทำให้แต่ละคนมีลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนใคร ๆ  ลักษณะที่แตกต่างกันของแต่ละคน   เป็นลักษณะที่เราได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน  โดยลูกได้รับการถ่ายทอดลักษณะจากพ่อ  แม่  ซึ่งพ่อได้รับการถ่ายทอดลักษณะจากปู่  ย่า และแม่ได้รับการถ่ายทอดลักษณะจากตา  ยาย  ลักษณะเหล่านี้  เรียกว่า  ลักษณะทางพันธุกรรม

1. ลักษณะของตนเองกับคนในครอบครัว


                คนเราเมื่อเจริญเติบโตเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์  จะสามารถสืบพันธุ์  ออกลูกออกหลานได้  ลูกหลานที่ดำรงพันธุ์ต่อไปจะได้รับการถ่ายทอดลักษณะจากพ่อ  แม่   เช่น  ลักษณะรูปร่างหน้าตา  ความสูง  สีผม  สีผิว  สีตา  เป็นต้น ดังภาพ


                การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม  เป็นการถ่ายทอดลักษณะจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน  ซึ่งบางลักษณะจะเหมือนแม่  ถ้าไม่เหมือนพ่อแม่  อาจมีลักษณะบางลักษณะเหมือน  ปู่  ย่า  ตา  ยายได้  แต่ก็มีบางลักษณะที่แตกต่างออกไป  โดยไม่เหมือนใครในครอบครัว  ลักษณะที่แตกต่างออกไปนี้  เรียกว่า  ลักษณะที่แปรผัน  และสามารถถ่ายทอดสู่ลูกหลานต่อไปนี้  



2. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

                  สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคน  สัตว์  หรือพืช  สามารถถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมไปสู่ลูกหลานได้  โดยพันธุกรรมที่ส่งจากรุ่นพ่อแม่ไปสู่ลูกจะอยู่ในยีน  (gene) ที่อยู่ในเซลล์สืบพันธุ์  ทำให้ลูกที่เกิดมามีลักษณะบางอย่างเหมือนกับพ่อแม่ 
ตัวอย่างเช่น






เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น สามารถคลิกดูลิงก์ด้านล่างได้นะค่ะ